|
ความรู้ ของสำนักราชบัณฑิต สยาม
สมณลักษณ์
ลักษณะหนึ่งที่แสดงถึงการเป็นภิกษุหรือภิกษุณีในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน คือ สมณลักษณ์บนศีรษะ สมณลักษณ์คืออะไร และเหตุใดจึงต้องมี พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม) อธิบายไว้ว่า
สมณลักษณ์ (sacrament of ordained monk) คือ ลักษณะที่แสดงว่าเป็นภิกษุหรือภิกษุณีฝ่ายมหายาน โดยทำให้เกิดแผลเป็นรูปวงกลมบนศีรษะด้านหน้า โดยทั่วไปจะเป็น ๓ หรือ ๙ แผล มีวิธีการทำ คือ นำธูปแบบไม่มีก้านธูปยาวประมาณ ๑ นิ้ว ใช้แป้งเปียกติดไว้บนศีรษะ จากนั้นจุดไฟบนธูป ธูปนั้นจะค่อย ๆ ไหม้ลามลงมาจนถึงศีรษะ ตำแหน่งหนังศีรษะที่ถูกไฟธูปไหม้ จะกลายเป็นแผลเป็นในเวลาต่อมา
การทำสมณลักษณ์ดังกล่าวไม่มีในระเบียบวินัยสงฆ์ของอินเดีย จนกระทั่งพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นและเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ถัง พระภิกษุเป็นที่นับถืออย่างยิ่งในสังคมทุกระดับ ราชสำนักจึงมีคำสั่งให้พระภิกษุทุกรูปทำสมณลักษณ์ดังกล่าวไว้บนศีรษะให้สังเกตได้ง่าย เพื่อไม่ให้บุคคลทั่วไปมีโอกาสแอบอ้างหรือปลอมตัวเป็นพระภิกษุ จนกลายเป็นประเพณีในเวลาต่อมา กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็จะขอให้พระอุปัชฌาย์หรือพระผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในพิธีทำสมณลักษณ์ดังกล่าว
ในปัจจุบัน การอุปสมบทเป็นพระภิกษุของจีนไม่ได้เข้มงวดในการทำสมณลักษณ์เหมือนแต่ก่อน จะทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้บวช การอุปสมบทของสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทยนั้น ไม่มีการทำสมณลักษณ์บนศีรษะ คงมีเพียงทำเครื่องหมายบนแขนตามวิธีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น.
กนกวรรณ ทองตะโก
สมณลักษณ์ (sacrament of ordained monk) คือ ลักษณะที่แสดงว่าเป็นภิกษุหรือภิกษุณีฝ่ายมหายาน โดยทำให้เกิดแผลเป็นรูปวงกลมบนศีรษะด้านหน้า โดยทั่วไปจะเป็น ๓ หรือ ๙ แผล มีวิธีการทำ คือ นำธูปแบบไม่มีก้านธูปยาวประมาณ ๑ นิ้ว ใช้แป้งเปียกติดไว้บนศีรษะ จากนั้นจุดไฟบนธูป ธูปนั้นจะค่อย ๆ ไหม้ลามลงมาจนถึงศีรษะ ตำแหน่งหนังศีรษะที่ถูกไฟธูปไหม้ จะกลายเป็นแผลเป็นในเวลาต่อมา
การทำสมณลักษณ์ดังกล่าวไม่มีในระเบียบวินัยสงฆ์ของอินเดีย จนกระทั่งพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นและเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ถัง พระภิกษุเป็นที่นับถืออย่างยิ่งในสังคมทุกระดับ ราชสำนักจึงมีคำสั่งให้พระภิกษุทุกรูปทำสมณลักษณ์ดังกล่าวไว้บนศีรษะให้สังเกตได้ง่าย เพื่อไม่ให้บุคคลทั่วไปมีโอกาสแอบอ้างหรือปลอมตัวเป็นพระภิกษุ จนกลายเป็นประเพณีในเวลาต่อมา กล่าวคือ เมื่อผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็จะขอให้พระอุปัชฌาย์หรือพระผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในพิธีทำสมณลักษณ์ดังกล่าว
ในปัจจุบัน การอุปสมบทเป็นพระภิกษุของจีนไม่ได้เข้มงวดในการทำสมณลักษณ์เหมือนแต่ก่อน จะทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับจิตศรัทธาของผู้บวช การอุปสมบทของสงฆ์จีนนิกายในประเทศไทยนั้น ไม่มีการทำสมณลักษณ์บนศีรษะ คงมีเพียงทำเครื่องหมายบนแขนตามวิธีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น.
กนกวรรณ ทองตะโก
ที่มา : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา